assignment2

1. หลักการทำงานของ Internet ?

 การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
           เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย

2. การเชื่อมต่อ Internet กับอุปกรณ์สื่อสารหรือคอมพิวเตอร์

           โมเด็ม (Modem) 
                 เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก โดยเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับช่องทางการสื่อสาร กล่าวคือคอมพิวเตอร์จะประมวลผลลัพธ์ออกมาในรูปของดิจิตัล เมื่อต้องการส่งข้อมูลนี้ไปบนช่องทางการสื่อสาร เช่น ต่อเชื่อมผ่านทางสายโทรศัพท์ โมเด็มจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อกเพื่อส่งผ่านไปบนสายโทรศัพท์ ในทางกลับกันเมื่อข้อมูลจากที่อื่นส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา โมเด็มก็จะแปลงสัญญาณแอนะล็อกนั้นมาเป็นสัญญาณดิจิตัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าใจได้ 
            ฮับ หรือ รีพีทเตอร์ (Hub, Repeater) 
                   เป็นอุปกรณ์ที่ทวน และขยายสัญญาณ เพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น ให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลัง การรับ-ส่ง และไม่มีการใช้ซอฟท์แวร์ใดๆ มเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูล จะเฉลี่ยลดลงเท่ากันทุกเครื่องเมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น 
            สวิทช์ หรือ บริดจ์ (Switch, Bridge) 
                    เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อ เครือข่ายท้องถิ่น หรือ แลน (LAN) ประเภทเดียวกัน ใช้โปรโตคอลเดียวกัน สองวงเข้าด้วยกัน เช่น ใช้เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) หรือ โทเคนริงก์แลน (Token Ring LAN) ทั้งนี้ สวิทช์ หรือ บริดจ์ จะมีความสามารถในการเชื่อมต่อ ฮาร์ดแวร์ และตรวจสอบข้อผิดพลาด ของการส่งข้อมูลได้ด้วย ความเร็วในการส่งข้อมูล ก็มิได้ลดลงและติดตั้งง่าย 
            เร้าเตอร์ (Router) 
                  เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้าย สวิทช์ แต่จะสามารถเชื่่อมต่อ ระบบที่ใช้สื่่อ หรือสายสัญญาณต่างชนิดกันได้ เช่น เชื่อมต่อ อีเธอร์เน็ตแลน (Ethernet LAN) ที่ส่งข้อมูลแบบ ยูทีพี (UTP: Unshield Twisted Pair) เข้ากับ อีเธอร์เน็ตอีกเครือข่าย แต่ใช้สายแบบโคแอ็กเชียล (Coaxial cable) ได้ นอกจากนี้ยังช่วยเลือก หรือกำหนดเส้นทางที่จะส่งข้อมูลผ่าน และแปลงข้อมูลให้เหมาะสมกับการนำส่งแน่นอนว่าการติดตั้งย่อมยุ่งยากมากขึ้น 
            เกทเวย์ (Gateway) 
                    เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุด ในการเชื่่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัด ทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบ หรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จะแตกต่างกันออกไป เกทเวย์ จะแปลงโปรโตคอล ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน จัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง และติดตั้งใช้งานยุ่งยาก เกตเวย์บางตัว จะรวมคุณสมบัติในการเป็น เร้าเตอร์ ด้วยในตัว หรือแม้กระทั่ง อาจรวมเอาฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านการรักษาความปลอดภัย ที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย การวางแผนก่อนติดตั้งระบบเครือข่าย
    จากองค์ประกอบข้างต้นก่อนที่เราจะตัดสินใจเลือกรูปแบบและวิธีการในการวางระบบเครือข่ายเราจำเป็นต้องมีการศึกษาถึงระบบเครือข่ายที่เรากำลังจะวาง ว่าระบบเครือข่ายของเรา มีความต้องการด้านใดบ้าง เหมาะสมกับระบบเครือข่ายประเภทไหน และทำอย่างไรเพื่่อให้มีการรองรับการขยายหรือการเติบโตของระบบเครือข่าย ในอนาคตได้ ซึ่่งอาจจำแนกได้ดังนี้
      1. ออกแบบวางระบบเครือข่าย
      2. แบบแปลนที่ได้จะนำมาวิเคราะห์และนำไปออกแบบด้านอุปกรณ์ เพื่อให้เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบและ นโยบายของเราต่อไป
      3. กำหนดค่า Network ต่างๆ
      4. ตรวจสอบสเป็กเครื่องที่จะใช้ทำ Server โดยดูจากความจำเป็นในการใช้และความสำคัญของข้อมูลที่ให้บริการ
   5. ออกแบบหรือวางระบบ Internet หรือ Network เดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อทำให้ สามารถใช้งาน Internet ได้ เช่น เขียนผังอาคารหรือ สำนักงานอย่างละเอียด กำหนดระยะทาง จุดติดตั้ง Client ทั้งปัจจุบันและอนาคต การใช้งานที่ต้องการเช่น File,Print, CD ROM Server และ Internet จำนวนสมาชิก ฝ่าย งาน หรือแผนก…. อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ เช่น Router, Switch, HUP, NIC, Cable …. รายละเอียดการเชื่อมต่อสัญญาณกับ ISP การให้บริการลูกข่ายภายนอก

3. Home Network หมายถึงอะไร และมีวิธีทำอย่างไร ?
  1. Home Network หมายถึง
                 Home Network(ระบบเครือข่ายภายในบ้าน) เครือข่ายในบ้าน หรือ Home Network คือเครือข่ายที่เชื่อมโยงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในบ้านเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่่อง พรินเตอร์ ปาล์มหรือ พ็อคเก็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สำหรับแชร์อินเตอร์เน็ตเป็นต้น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เหล่านี้ในปัจจุบันอุปกรณ์เหล่านี้แทบจะกลายเป็นอุปกรณ์ภายในบ้านที่พบเห็นทั่วไปแล้ว สังเกตได้จากตามห้างสรรพสินค้าที่่นำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มาวางขายกันถ้วนหน้า จำนวนคอมพิวเตอร์ที่่ใช้ในบ้านหลังหนึ่งก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว จากข้อมูลของบริษัท IDC (International Data Corporation) ที่เคยสำรวจมาก่อนหน้านี้พบว่า ประมาณ 50% ของครอบครัวในอเมริกาต่างมีคอมพิวเตอร์ในบ้านกันและแนวโน้มของการที่่ในแต่ละครัวเรือนจะมีเครื่่องคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่่องและประมาณการกันว่าในปี2004จะมีครอบครัวที่่ติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านกว่า60%ของครัวเรือนที่่มีคอมพิวเตอร์ทั้งหมด การที่เอาสถิติเหล่านี้มาแสดงเพื่่อชี้ให้เห็นว่าแนวโน้มของการติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านเป็นสิ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้
    นอกจากนี้ ผู้ผลิตเทคโนโลยีต่างๆในทางระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์ก็ได้ เล็งเห็นและผลิตผลิตภัณฑ์ที่จะเอื้ออำนวยในการติดตั้งเครือข่ายภายในบ้านมากขึ้น เช่น Windows XP Home Edition สาเหตุที่ทำให้จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นก็คือราคาเครื่่องคอมพิวเตอร์ถูกลงและมีการพัฒนาทางด้านอุปกรณ์ทำให้มีประสิทธิ์ภาพของเครื่องสูงขึ้นทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พึ่งซื้อไปไม่นานล้าสมัยและโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นนั้นมีความต้องการเครื่องที่มีเสปค ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องสูงทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้บริโภคต้องซื้อหรืออัพเกรดเครื่่องบ่อยๆทำให้เครื่่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้านคุณเพิ่มขึ้น
    นอกจากนี้เทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นง่ายต่อการใช้งานเข้าถึงสมาชิกในครอบครัวทุกเพศทุกวัยซึ่งการต่อเครือข่ายภายในบ้านนั้นทำให้สามารถใช้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ได้อย่างทั่วถึงมีประโยชน์ ตอบสนองความต้องการได้เต็มที่ การทำงานของ Home Network

  2. วิธีการต่อ Home Network
    มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 

    มาตรฐานนี้ ถูกกำหนดออกมาเพื่อใช้ควบคุมการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์กภายในบ้านโดยเฉพาะ ซึ่งมาตรฐานนี้ แบ่งการเชื่่อมต่อของโปรโตคอลที่ใช้ภายในบ้านออกเป็นสองแบบด้วยกัน คือ 
                   –Ad hoc หรือ peer-to-peer เป็นเครือข่ายที่่มีการเชื่่อมต่อแบบธรรมดา คือการนำเครื่่องมาต่อกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเซิร์ฟเวอร์ คือนำเครื่่องมาต่อถึงกันเลยโดยตรง 
                   –Client / Server จะเป็นลักษณะการเชื่่อมต่อที่มีผู้ให้บริการ คือ เซิร์ฟเวอร์ Server และมีการจัดการเส้นทางในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งจะต้องมีการแบ่งช่องสัญญาณความถี่ และรู้จักหลบเลี่ยงการชนกันของสัญญาณจากเครื่องแต่ละเครื่องในกรณีที่มีการส่งข้อมูลมาพร้อมๆ กัน 
            –สำหรับ IEEE 802.11 เอง ก็มีแบ่งย่อยอีก ตามประเภทของความเร็ว และคลื่นความถี่ที่ใช้ โดย ณ ปัจจุบันมีอยู่ 3 มาตรฐานที่มีอุปกรณ์สนับสนุนการใช้งานอยู่ในขณะนี้ นั่นคือ IEEE 802.11a , IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ซึ่งจะกล่าวถึงในภายหลัง
    มาตรฐาน Bluetooth 

           Bluetooth กลายเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้โฮมเน็ตเวิร์กมีบทบาทมากขึ้น และได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจาก Bluetooth ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้อย่างดี แม้แต่ในบริเวณที่มีคลื่นวิทยุรบกวนมาก เพราะ Bluetooth มีระบบการป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี และมีความน่าเชื่อถือสูง คาดว่าอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน Bluetooth จะเป็นในลักษณะของโมดูลเพิ่มเติม สามารถต่อเสริมเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วได้ทันที 
    มาตรฐาน HomePNA ( Home Phoneline Networking Association ) 
          เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในบ้านผ่านสายโทรศัพท์ ถือเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เห็นเป็นรูปร่างมากที่สุด เนื่องจากมีสินค้าที่ผลิตออกมารองรับการใช้งานแล้วในท้องตลาด ซึ่งมาตรฐานนี้ เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการส่งสัญญาณไปบนสายโทรศัพท์ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยไม่รบกวนการใช้งานโทรศัพท์ตามปกติ
4.  3G และ DSL มีความแตกต่างกันอย่างไร?

                “3G” แยกออกเป็น “3” หมายถึง Third แปลว่า อันดับที่ 3 ส่วน “G” ย่อมาจาก Generation หมายถึง รุ่น, ยุค แปลรวมกันได้ว่า “ยุคที่ 3” โทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์ไร้สาย หรือโทรศัพท์มือถือ หรือ มือถือ แต่ละยุค  โดยโทรศัพท์มือถือระบบ “3G” ก็คือ “ความเร็วสูง” และ “ระยะการรับส่งสัญญาณที่ไกลมาก”
              1- “ความเร็วสูง” พัฒนาขึ้นเพื่อให้การส่งผ่านข้อมูลที่มีปริมาณมากๆ เป็นไปได้จริง ตัวอย่างเช่น สื่อประสม (Multimedia) ที่เป็นวีดีโอ เป็นสื่อที่มีข้อมูลมาก เมื่อมีเทคโนโลยี 3G ความเร็วสูง การส่งวีดีโอผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจึงเป็นไปได้ ตัวอย่างหนึ่งคือ Video Call หรือการคุยโทรศัพท์แบบเห็นหน้า
             2- “ระยะการรับส่งสัญญาณที่ไกลมาก” เครือข่ายมือถือมีคุณสมบัติเด่นคือ ระยะการรับส่งสัญญาณระหว่างตัวเครื่องกับฐานส่งสามารถห่างกันได้ไกลหลายกิโลเมตร เมื่อมีเทคโนโลยี 3G นอกจากจะความเร็วสูงแล้ว การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าอินเตอร์เน็ตแบบไร้สายจึงทำได้ไกลกว่า Wi-Fi ที่มีระยะทำงานไม่กี่เมตร
                 “ADSL” มาจากคำว่า Asymmetric Digital Subscriber Line เป็นเทคโนโลยีของ Modem แบบใหม่ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของสายโทรศัพท์ที่ทำจากลวดทองแดง ให้เป็นเส้นสัญญาณนำส่งข้อมูลความเร็วสูง โดย ADSL สามารถจัดส่งข้อมูลจากผู้ให้บริการด้วยความเร็วมากกว่า 6 Mbps ไปยังผู้รับบริการ หมายความว่า ผู้ใช้บริการสามารถ Download ข้อมูลด้วยความเร็วสูงมากกว่า 6 Mbps ขึ้นไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือผู้ให้บริการข้อมูลทั่วไป (ส่วนจะได้ความเร็ว กว่า 6 Mbps หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ รวมทั้งระยะทางการเชื่อมต่ออีกด้วย) ความเร็วขณะนี้ มากเพียงพอสำหรับงานต่างๆ ดังต่อไปนี้  งาน Access เครือข่าย อินเทอร์เน็ต

5. IPv6, Cloud Computing Software Development, และ WebRTC มีลักษณะอย่างไรมีผลกระทบกับธุรกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างไร?
  1. IPv6
                
    ชุดของโปรโตคอล IPv6 คือ การแก้ไขปัญหาของโปรโตคอลใน Internet Layer  ปัจจุบันคือTCP/IP protocol และแทนที่ IP, ICMP, IGMP,และ ARP  IPv6 ได้พยายามแก้ไขปัญหาของ IPv4 ที่มีประสิทธิภาพและความคล่องตัวของเฮดเดอร์ใน Internet Layer  เพื่อการประมวลผลที่ง่ายขึ้นของเร้าเตอร์ และการติดต่อกับโหนดเพื่อนบ้านที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                สถานการณ์ในประเทศไทย ในส่วนสถานการณ์ในประเทศไทยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) นับว่าเป็นผู้นำในการให้บริการเชื่อมต่อเครือข่าย IPv6 กับต่างประเทศผ่านการทำ IPv6-over-IPv4 tunnel และการทำ 6to4 relay นอกจากนี้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติยังได้รับความร่วมมือจากหลายมหาวิทยาลัยและบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดเครือข่าย IPv6 เพื่อการทดสอบภายในประเทศ (Thailand IPv6 Testbed) ซึ่งมีการเชื่อมต่อด้วยเทคนิคที่หลากหลาย ขณะนี้มีบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ได้ทำการเชื่อมต่อกับเครือข่าย IPv6 ทั้งในและนอกประเทศกว่าหลายบริษัทแล้ว อาทิ UIH, CAT, AsiaInfonet, CS-Loxinfo, JI-Net, Samart และ Internet Thailand

                   ในปัจจุบันได้มีการก่อตั้งคณะทำงานระดับประเทศขึ้นภายใต้ชื่อ Thailand IPv6 Forum หรือ โครงการความร่วมมือพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครือข่าย IPv6 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย Hardware และ Software ระบบเครือข่าย ซึ่งกิจกรรมในปัจจุบันของ Thailand IPv6 Forum ได้แก่ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Asia-Pacific IPv6 Task Force และการเชื่อมต่อแบบ Native IPv6 ภายในประเทศระหว่าง 3 องค์กรหลัก คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิคส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเหล่านี้นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความตื่นตัวในการตอบรับการนำ IPv6 มาใช้ในประเทศไทย
  2. Could Computing
               Cloud Computing เป็นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับกับธุรกิจยุคใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงในทุกวินาที  ระบบการจัดการทรัพยากรทางด้านไอทีแบบ Cloud Computing ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนระบบไอทีได้ทันทีที่ต้องการตามนโยบายการดำเนินธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องรอการสั่งซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เพราะโครงสร้างของระบบถูกออกแบบให้ทำงานอยู่บนระบบเสมือน ( Virtualization) ทำให้สามารถเพิ่ม ลด และปรับเปลี่ยนโครงสร้างระบบไอทีที่รองรับการทำงานของ Software และ Application  ที่จำเป็นต่อธุรกิจได้ทันที
                ในมุมมองของการทำธุรกิจ การเพิ่มเติมหน่วยงานหรือขยายธุรกิจออกไป จำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ระบบไอทีถูกมองว่าเป็นการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการลงทุนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ถือเป็นการลงทุนที่ยังไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ชัดเจน ทำให้องค์กรต้องแบกรับภาระต้นทุนค่อนข้างสูง  แต่เมื่อองค์กรเปลี่ยนมาใช้การบริหารจัดการทรัพยากรไอทีแบบ Cloud Computing การเพิ่มการใช้งานระบบไอทีจะมีต้นทุนที่ต่ำ ลงเพราะโครงสร้าง Infrastructure ทั้งหมดจะถูกสร้างเป็นระบบเสมือนและสามารถใช้งานได้ทันที ทำให้การตัดสินใจในการต่อยอดทางธุรกิจเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น หรือในกรณีที่องค์กรไม่ต้องการลงทุนทางด้านระบบไอที ก็สามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการของ Cloud Service Provider ได้ Cloud Computing จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดต้นทุนทางด้านไอทีได้ในระยะยาว

  3. WebRTC
              
      WebRTC ชื่อเต็มคือ Web Real-Time Communication เป็น javascript api ใหม่ที่สามารถทำให้คุยแบบเห็นหน้า ได้ยินเสียง และแชร์ไฟล์หากันแบบ P2P ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโปรแกรมเสริมใดๆ โดย Google ได้นำเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารแบบเรียลไทม์มาเป็น OpenSource Project ของโครงการ WebRTC ไปแล้ว ซึ่งโครงการ WebRTC คือการสร้าง API มาตรฐานสำหรับการดึงไมโครโฟนและเว็บแคมของคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ทำให้เว็บสามารถดึงภาพและเสียงจากเครื่องแล้วส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ตามเวลาจริง ดังนั้นเราจึงสามารถสร้างห้องแชตวิดีโอโดยไม่ต้องการปลั๊กอินใดๆ เพิ่มเติม ต่างไปจากทุกวันนี้ที่ Google Talk, และ Hangout ของกูเกิล ยังคงต้องการปลั๊กอิน Google Talk แยกออกมาเพื่อทำงาน
                  เทคโนโลยีสื่่อสารในแบบ VoIP  หรือที่เรียกว่า วีดีโอคอลล์  คือ เทคโนโลยีที่ทำให้ บราว์เซอร์นั้นสามารถสื่อสารโดยไม่ต้องลง ปลั๊กอินเพิม และล่าสุได้พัฒนาไปถึงขึ้นที่ Chrome และ Firefox สามารถคุยวิดีโอคอลล์แบบเห็นหน้ากันระหว่างกันได้แล้ว ฟีเจอร์ WebRTC มีให้ใช้งานใน Chrome 25 Beta และ Firefox Nightly เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนฝั่ง Firefox ต้องเปิดใช้ใน about:config ก่อน และโครงการ WebRTC เอง ก็เตรียม Demo ที่ให้บราว์เซอร์ทั้งสองฝ่ายสามารถกันผ่านดีดีโอคอลล์ได้ ผลออกมาดูได้จากวีดีโอ ส่วนตัววีดีโอคอลล์คงไม่ใช่เครื่องใหม่ของยุคนี้ แต่ วีดีโคคอลล์ด้วยตัวบราวเซอร์ล้วนๆ คงแสดงให้เห็นศักยภาพของมาตรฐานเว็บที่กำลังพัฒนาขึ้นมาทดแทนปลั๊กอินเดิมๆ มากขึ้นนั่นเอง

     ขอขอบพระคุณข้อมูลจาก :
1. http://adsl3g.blogspot.com/2013/07/adsl.html
2. http://rightsara.com/2013/01/3G.html
3. http://vclass.mgt.psu.ac.th/~465-302/2006-2/Assignment-02/BPA_29_08_2/page_4.htm
4.http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/internet/04.html
5. http://www.arip.co.th/articles.php?id=405820
6. http://www.uih.co.th/knowledge/view/531

Leave a comment